วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดชนิดของคำ

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์ จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดไม่มีคำนามทำหน้าที่เป็นกรรมรอง
เธอขอพรทุกครั้งที่สวดมนต์
ชาวบ้านถวายของพระสงฆ์
คุณแม่ให้กระเป๋าใหม่เธอหรือ
พี่เลี้ยงป้อนข้าวน้องทุกเช้าเย็น

2. ข้อใดเป็นประโยคที่มีคำอาการนามเป็นส่วนประกอบ
ความรักที่เขามีให้แก่เธอตั้งแต่พบกันครั้งแรก
นี่เธอยังทำการบ้านไม่เสร็จอีกเหรอ
เด็กคนนั้นมีความคิดสร้างสรรค์
ใบงานความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทย

3. คำนามในข้อใดทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค
นักเรียนนั่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษตั้งแต่เช้าจนเย็น
ภาพนี้เหมือนอะไร
achieveแปลว่าประสบความสำเร็จ
สุนัขตัวนั้นถูกงูกัดจนตาย

4. ประโยคในข้อใดมีอนิยมสรรพนาม
ใครเป็นคนทำแจกันแตก
เธอชอบทานขนมอะไร
ทะเลไหนน่าไปสุด
ใคร ๆ ก็ไม่รักผมขนาดพัดลดยังส่ายหน้าเลย

5. "คุณคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของผมซึ่งไม่มีใครแทนที่ได้" ประโยคข้างต้นมีคำสรรพนามกี่คำ
2 คำ
3 คำ
4 คำ
5 คำ

6. กริยาที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นที่ตามมา ทำหน้าที่ช่วยบอกกาลหรือการกระทำ เพื่อทำให้ประโยคมีใจความที่สมบูรณ์ คือกริยาชนิดใด
วิกรรตถกริยา
กริยานุเคราห์
สกรรมกริยา
กริยาสภาวมาลา

7. ประโยคในข้อใดมีคำนิยมวิเศษณ์มากที่สุด
ฉันเองที่เป็นคนทำเรื่องทั้งหมดนี้
ฉันว่าอย่างนี้ดีกว่านะ
นี่คือดินสอ นั่นคือปากกา นู่นคือยางลบ โน่นคือสมุด
นี่ อย่าเพิ่งหลับสิ

8. "คนเราใช่ว่าจะสวยหล่อตลอดไป" คำว่า ใช่ เป็นคำชนิดใด
ประติชญาวิเศษณ์
อนิยมสรรพนาม
อนิยมวิเศษณ์
ประติเษธวิเศษณ์

9. แก่ ในข้อใดเป็นคำบุพบท
เขาแก่แล้ว ไม่มีแรงหรอก
การเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมชาติ
ฉันเห็นแก่ความเป็นเพื่อน ฉันช่วยทำก็ได้
ยัยแก่นั่นทำอะไรให้เธอเดือดร้อนอีกแล้ว

10. ประโยคในข้อใดใช้สันธานแตกต่างจากข้ออื่น
ถ้าเธอไม่ไปฉันก็ไม่ไป
ฉันและพี่ชายต่างก็ชอบนอนกลางวัน
แม้ว่าเขาจะล้มกี่ครั้ง เขาก็ลุกขึ้นมาใหม่เสมอ
คนก็ดีสัตว์ก็ดีรักลูกตัวเองทั้งนั้น

11. ข้อใดใช้คำอุทานได้เหมาะสม
อุบ๊ะ ฉันสอบผ่าน
คุณพระช่วย เจ็บขาจนเดินไม่ไหวแล้ว
เอ นี่ฉันรักเขาหรือเปล่านะ
ว้า ฉันได้ที่ 1 ของห้อง ดีใจจังเลย

12. "ต่างคนต่างความคิดต่างจิตใจ" คำว่า ต่าง เป็นคำอะไร ทำหน้าที่อะไร
วิภาคสรรพนาม ทำหน้าที่แทนคำนาม
วิภาคสรรพนาม ทำหน้าที่ประกอบคำนาม
ประมาณวิเศษณ์ ทำหน้าที่แทนคำนาม
ประมาณวิเศษณ์ ทำหน้าที่ประกอบคำนาม

13. ข้อใดมีคำที่ไม่ใช่สามานยนาม
การเมือง ความอาญา
การบ้าน ความแพ่ง
การงาน ความสะอาด
การไฟฟ้า การละคร

14. คำว่า ปาก ในข้อใดทำหน้าที่ขยายกริยา
ปลาหมอตายเพราะปาก
ปากหวานก้นเปรี้ยว
มือถือสาก ปากถือศีล
น้ำท่วมปาก

15. ข้อใดไม่มีอุทานเสริมบท
ก.เอ๋ยก.ไก่
สิงสาราสัตว์
อนิจจัง ไฉนจึงเป็นเช่นนี้
กบเอยทำไมจึงร้อง

ผลคะแนน =

เฉลยแบบฝึกหัด 1. เธอขอพรทุกครั้งที่สวดมนต์ 2. เด็กคนนั้นมีความคิดสร้างสรรค์ 3. achieveแปลว่าประสบความสำเร็จ 4. ใคร ๆ ก็ไม่รักผมขนาดพัดลดยังส่ายหน้าเลย 5. 3 คำ 6. กริยานุเคราห์ 7. ฉันเองที่เป็นคนทำเรื่องทั้งหมดนี้ 8. ประติเษธวิเศษณ์ 9. ฉันเห็นแก่ความเป็นเพื่อน ฉันช่วยทำก็ได้ 10. แม้ว่าเขาจะล้มกี่ครั้ง เขาก็ลุกขึ้นมาใหม่เสมอ 11. เอ นี่ฉันรักเขาหรือเปล่านะ 12. ประมาณวิเศษณ์ ทำหน้าที่ประกอบคำนาม 13. การงาน ความสะอาด 14. ปลาหมอตายเพราะปาก 15. อนิจจัง ไฉนจึงเป็นเช่นนี้

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิดคือ

คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน

คำนาม 

คือคำที่ใช้เรียนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เช่น ครู นักปลา ดินสอโต๊ะ บ้าน โรงเรียน แบ่ง 5 ชนิด ได้แก่
1. สามานยนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป เช่นหนู ไก่ โต๊ะ บ้าน คน
2. วิสามานนาม เป็นชื่อเฉพาะ เช่น นายทอง เจ้าดำ ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อจังหวัด ชื่อประเทศ ชื่อแม่น้ำ ชื่อเกาะ
3. สุหนาม นามที่เป็นหมู่คณะ เช่น ฝูง โขลง กลอง หรือคำที่มีความหมายไปในทางจำนวนมาก เช่น รัฐบาล องค์กร กรม บริษัท
4. ลักษณนาม เป็นคำนามที่บอกลักษณะของนาม มักใช้หลังคำวิเศษที่บอกจำนวนนับ เช่น ภิกษุ 4 รูป นาฬิกา 4 เรือน
5. อาการนาม คือ นามที่เป็นชื่อกริยาอาการในภาษามักใช้คำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า เช่น การนั่งการกิน ความดี ความจน


หน้าที่ของคำนาม
.  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
.  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
.  ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนามอื่น
.  ทำหน้าที่ขยายคำกริยา
ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ 
ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่หรือขยายกริยาให้มี 
   เนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น
. ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน

คำสรรพนาม

คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม เช่น ผม ฉัน หนู เธอ คุณข้าพเจ้า เขา ท่าน มัน เป็นต้น แบ่งเป็น 6 ชนิดได้แก่
1. บุรุษสรรพนาม คือคำนามที่ใช้แทนชื่อ เวลาพูดกัน
บุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด เช่นผมฉัน ข้าพเจ้า
บุรุษที่2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่นคุณ เธอ
บุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่นเขา มัน
2. ประพันธสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทน(เชื่อม)คำนามที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น
คนที่ออกกำลังกายเสมอร่างการมักแข็งแรง
อเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพแข่งขันชกมวยกำลังมีชื่อเสียงทั่วโลก
มีดอันที่อยู่ในครัวคมมาก
3. นิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่กำหนดความให้รู้แน่นอนได้แก่ นี่ นั่น โน่น หรือ นี้ นั้น โน้น เช่น
นี่เป็นเพื่อนของฉัน
นั่นอะไรน่ะ
โน่นของเธอ
ของเธออยู่ที่นี่
4. อนิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่แทนสิ่งที่ไม่ทราบ คือไม่ชี้เฉพาะลงไปและไม่ได้กล่าวในเชิงถาม หรือสงสัย ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ใด เช่น
ใครขยันก็สอบไล่ได้
เขาเป็นคนที่ไม่สนใจอะไร
5. ปฤจฉาสรรพนาม ได้แก่สรรพนามใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำ อะไร ใคร ที่ไหน แห่งใด ฯลฯ เช่น
ใครอยู่ที่นั่น
อะไรเสียหายบ้าง
ไหนละโรงเรียนของเธอ
6. วิภาคสรรพนาม หมายถึงคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้น จำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ ต่างบ้าง กัน เช่น
นักเรียนต่างก็อ่านหนังสือ
เขาตีกัน
นักเรียนบ้างเรียนบ้างเล่น
 หน้าที่ของคำสรรพนาม สรรพนามใช้แทนคำนามจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม ดังนี้
                1. ใช้เป็นประธานของประโยค เช่น
                       เขาไปกับคุณพ่อ
                       ใครอยู่ที่นั่น
                       ท่านไปกับผมหรือ
               2. ใช้เป็นกรรมของประโยค เช่น
                       แม่ดุฉัน 
                       เขาเอาอะไรมา
                       เด็กๆกินอะไรๆก็ได้
               3. เป็นผู้รับใช้ เช่น
                       คุณแม่ให้ฉันไปสวน
               4. เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น          
                       คุณเป็นใคร
               5. ใช้เชื่อมประโยค เช่น
           เขาพาฉันไปบ้านที่ฉันไม่เคยไป
           เขามีความคิดซึ่งไม่เหมือนใคร
                       คนี่ไปกับเธอเป็นน้องฉัน
              6. ใช้ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค  เพื่อเน้นความที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม
                      คุณครูท่านไม่พอใจที่เราไม่ตั้งใจเรียน
                      ฉันแวะไปเยี่ยมคุณครูท่านมา
        ข้อสังเกตการใช้คำสรรพนาม
        การใช้คำสรรพนาม มีข้อสังเกตดังนี้ คือ
                    1. บุรุษสรรพนามบางคำจะใช้เป็นบุรุษสรรพนามบุรุษที่ หรือ บุรุษที่ ก็ได้
                        ท่านมาหาใครครับ                               ( บุรุษที่ 2 )
                         เธอไปกับท่านหรือเปล่า                      ( บุรุษที่ 3 )
                         เธออยู่บ้านนะ                                     ( บุรุษที่ 2 )
                   2. บุรุษสรรพนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล วัยและเพศของบุคคล เช่น ผม ใช้กับผู้พูดเป็นชาย แสดงความสุภาพ ข้าพระพุทธเจ้า ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง เป็นต้น
                     3. คำนามอาจใช้เป็นสรรพนามได้ในการสนทนา
                            ปุ๋ยมาหาคุณพี่เมื่อวานนี้ ( ปุ๋ยใช้แทนผู้พูด )


คำกริยา

คำกริยา คือ คำแสดงอาการของนาม สรรพนาม แสดงการกระทำของประโยค เช่น เดิน วิ่ง เรียน อ่าน นั่ง เล่น เป็นต้น แบ่งเป็น 5 ชนิด
1. สกรรมกริยา คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมรับ เช่น
ฉันกินข้าว
เขาเห็นนก
2. อกรรกริยา คือคำกริยาที่ไม่ต้องมี่กรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เช่น
เขานั่ง
เขายืน
3. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ ได้แก่ เหมือน เป็น คล้าย เท่า คือ เช่น
ผมเป็นนักเรียน
คนสองคนนี้เหมือนกัน
ลูกคนนี้คล้ายพ่อ
ส้ม 3 ผลใหญ่เท่ากัน
เขาคือครูของฉันเอง
4. กริยานุเคราะห์ คือคำกริยามี่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้นได้แก่คำ จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
แดงจะไปโรงเรียน
เขาถูกตี
รีบไปเถอะ
5.กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
                              นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี         ( ประธานของประโยค )
                               ฉันชอบไปเที่ยวกับเธอ                 ( เป็นบทกรรม )
                               ฉันมาเพื่อูเขา                           ( เป็นบทขยาย ) 
หน้าที่ของคำกริยา
     1. คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้
                                   ก. อยู่หลังประธาน เช่น เธอกินข้าว
                                   ข. อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
     2. คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น
                                    - เด็กเร่ร่อนยืนร้องไห้                               
                                       เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก
                                    - ปลาตาย ไม่มีขายในตลาด
                                        ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา
     3. คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือ
บทขยาย เช่น
                                    - อ่านหนังสือ ช่วยให้มีความรู้
                                       อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย
                                    - แม่ไม่ชอบนอนดึก
                                       นอนดึก เป็นกรรมของกริยาชอบ



คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 10 ชนิดคือ
1. ลักษณวิเศษณ์ บอกลักษณะ เช่น สูง ใหญ่ ดำ อ้วน ผอม แคบ หวาน เค็ม กว้าง
2. กาลวิเศษณ์ บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ดึก เดี๋ยวนี้ โบราณ
3. สถานวิเศษณ์ บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง
4. ประมาณวิเศษณ์ บอกจำนวน เช่น หนึ่ง สอง น้อย มาก ทั้งหมด ทั้งปวง บรรดา
5. นิยมวิเศษณ์ บอกความแน่นอน เช่น นี่ นี้ โน่น นั้น
6. อนิยมวิเศษณ์ บอกความไม่แน่นอน เช่น กี่ อันใด ทำไม อะไร ใคร
- กี่คนก็ได้
- ใครทำก็ได้
- เป็นอะไรก็เป็นกัน
- คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น
7. ปฤจฉาวิเศษณ์ บอกความเป็นคำถาม เช่น
- แม่จะไปไหน
- เธออายุเท่าไร
- แกล้งเขาทำไม
- ไยจึงไม่มา
8. ประติชฌาวิเศษณ์ (บอกการตอบรับ) มีคำว่า คะ ครับ จ้ะ จ๋า ขา ฯลฯ
9. ประติเศษวิเศษณ์ แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ใช่ หามิได้ บ่
10. ประพันธวิเศษณ์ แสดงหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น ที่ ซึ่ง อัน
- เขาพูดอย่างที่ใคร ๆ ไม่คาดคิด
- เธอเดินไปหยิบหนังสือซึ่งอยู่บนโต๊ะ
- ของมีจำนวนมากอันมิอาจนับได้






คำบุพบท

คำบุพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ไม่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ คำทักทาย หรือร้องเรียน เช่น ดูกร ข้าแต่ อันว่า แน่ะ เฮ้ย
2. เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ โดย ของ บน
- พวกเราเดินทางโดยรถยนต์
- ขนมเหล่านั้นเป็นของคุณแม่
- นกเกาะอยู่บนต้นไม้
- เขาเดินไปตามถนน
- ฉันเขียนหนังสือด้วยปากกา
- เขามาถึงตั้งแต่เช้า
- ในหลวงทรงเป็นประมุขแห่งชาติ
- เขาบ่นถึงเธอ
- นักโทษถูกส่งไปยังเรือนจไ
- ครูชนบทอยู่ไกลปืนเที่ยง
- นักเรียนอ่านหนังสืออยู่ภายในห้องเรียน
- ข้าวในนา ปลาในน้ำ
- ประชาชนทุกคนอยู่ใต้กฎหมายของบ้านเมือง
การใช้คำ กับ แก่ แด่ ต่อ
กับ ใช้กับการกระทำที่ร่วมกันกระทำ
- เขากับเธอมาถึงโรงเรียนพร้อมกัน
- พ่อกับลูกกำลังอ่านหนังสือ
แก่ ใช้นำหน้าผู้รับที่มีอายุน้อยกว่าผู้ให้ หรือเสมอกัน
- คุณครูมอบรางวัลแก่นักเรียน
- เขามอบของขวัญปีใหม่แก่เพื่อน
แด่ ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้รับที่มีอายุมากกว่า หรือกับบุคคลที่เคารพ
- นักเรียนมอบของขวัญแด่อาจารย์ใหญ่
- ฉันถวายอาหารแด่พระสงฆ์
ต่อ ให้ในการติดต่อกับผู้รับต่อหน้า
- จำเลยให้การต่อศาล
- ประธานนักเรียนเสนอโครงการต่ออาจารย์ใหญ่
- หาคนหวังดีต่อชาติ
- ผู้แทนราษฎรแถลงนโยบายต่อประชาชาน
หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท
1. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
2. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
3. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
4. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
5. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน
หลักการใช้คำบุพบทบางคำ
กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น ฉันเห็นกับตา
"แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น ครูให้รางวัลแก่นักเรียน
"แด่" ใช้แทนตำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น นักเรียนมอบพวงมาลัยแด่อาจารย์
"แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น เขามาแต่บ้าน
"ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะหน้าถัดไป เทียบจำนวน เป็นต้น เช่น เขายื่นคำร้องต่อศาล
         คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น
ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง
ครูทำงานเพื่อนักเรียน
เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน
ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท
1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
เขามุ่งหน้าสู่เรือน
ป้ากินข้าวด้วยมือ
ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
เขาเป็นลูกฉัน ( เขาเป็นลูกของฉัน )
แม่ให้เงินลูก ( แม่ให้เงินแก่ลูก )
ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมาก )
3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม
เขานั่งหน้า ใครมาก่อน
ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง
ตำแหน่งของคำบุพบท ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้
1. นำหน้าคำนาม
เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา
เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
2. นำหน้าคำสรรพนาม
เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา
เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
3. นำหน้าคำกริยา
เขาเห็นแก่กิน
โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้
4. นำหน้าคำวิเศษณ์
เขาวิ่งมาโดยเร็ว
เธอกล่าวโดยซื่อ

 คำสันธาน

คำสันธาน คือคำเชื่อมคำ หรือประโยคเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน มี 2 ลักษณะ คือ
1. เชื่อมคำกับคำ เช่น พี่กับน้อง เขียนกับอ่าน ลูกและหลาน
2. เชื่อมประโยคกับข้อความ หรือข้อความกับประโยค มี 4 ลักษณะคือ
  ก. คล้อยตามกัน เช่น พอล้างมือเสร็จก็ไปรับประทานอาหาร
  ข. ขัดแย้งกัน เช่น แม้เขาจะขยั้นแต่ก็เรียนไม่สำเร็จ
  ค. เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะอ่านหนังสือกรหรือจะเล่น
  ง. เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เพราะรถติดเขาจึงมาสาย
หน้าที่ของคำสันธาน
      1.   เชื่อมคำกับคำ
    • ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
    • เธอชอบสีแดงหรือสีส้ม
      2.    เชื่อมข้อความกับข้อความ
    • การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้
    • คนเราต้องการอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อสิ่งจำเป็นเหล่านี้
      3.    เชื่อมประโยคกับประโยค
    • พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก
    • เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
      4.    เชื่อมความให้สละสลวย
    • คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา
    • ฉันก็เป็นคนจริงคนหนึ่งเหมือนกัน
ข้อสังเกต
      1.   คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน เช่น ไม่ก็ กว่าก็ เพราะจึง ถึงก็ แม้ก็ เป็นต้น
      2.    คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่างๆในประโยคก็ได้ เช่น
    • อยู่ระหว่างคำ : อีฟชอบสีม่วงและสีขาว
    • อยู่หลังคำ : คนก็ดี สัตว์ก็ดี รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น
    • อยู่คร่อมคำ : ถึงเป็นเพื่อนก็อย่าวางใจ
    • อยู่ระหว่างประโยค : ตูนจะดื่มน้ำส้มหรือดื่มนม
    • อยู่หลังประโยค : เราจะทำบุญก็ตาม บาปก็ตาม ควรคิดถึงผลกรรม
    • อยู่คร่อมประโยค : แม้เต้จะกินมากแต่เต้ก็ไม่อ้วน
      3.    ประโยคที่มีคำสันธานนั้นจะแยกออกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป
      4.    คำบางคำเป็นได้ทั้งคำสันธานและคำบุพบท เช่น คำว่า เมื่อ” ให้พิจารณาว่าถ้าสามารถแยกเป็น ประโยคได้ก็เป็นคำสันธาน เช่น เมื่อ 16 นาฬิกา อาร์ทได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำบุพบท )เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง หมวยได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำสันธาน )
เป็นต้น
      5.    คำว่า ให้” เมื่อนำมาใช้เชื่อมประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น เขาทำท่าตลกให้เด็กหยุดร้องไห้” เป็นต้น
      6.    คำว่า ว่า” เมื่อนำมาใช้เชื่อมระหว่างประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการกวาดล้างพวกมิจฉาชีพครั้งใหญ่” เป็นต้น
      7.    คำประพันธสรรพนามหรือคำสรรพนามเชื่อมประโยค คือ คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน” จัดเป็นคำสันธานด้วย
    • สตรีผู้มีความงามย่อมเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
    • คนที่กำลังเล่นกีตาร์นั่นเป็นพี่ชายของวี
    • ฝ้ายอยู่ในตลาดซึ่งมีคนพลุกพล่าน


คำอุทาน

คำอุทาน คือคำที่เปล่งออกมาบอกอาการ หรือความรู้สึกของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. อุทานบอกอาการ หรือบอกความรู้สึก จะใช้เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ( ! )
กำกับข้างหลัง เช่น
อุ๊ย ! พุทโธ่ ! ว๊าย! โอ้โฮ! อนิจจา!
2. อุทานเสริมบท เป็นคำพูดเสริมเพื่อให้เกิดเป็นคำที่สละสลวยขึ้น เช่น
- รถรา
- กระดูกกระเดี้ยว
- วัดวาอาราม
- หนังสือหนังหา
- อาบน้ำอาบท่า
- กับข้าวกับปลา


หน้าที่ของคำอุทาน  มีดังนี้คือ

1.  ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด
ตัวอย่าง
เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน
โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ
2.  ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท
ตัวอย่าง
ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป
เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
3.  ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์
ตัวอย่าง
แมวเอ๋ยแมวเหมียว
กอ เอ๋ย กอไก่ 

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/208769